การพัฒนานวัตกรรม เรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์และประโยคภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค TGT: Teams – Games – Tournament) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
     

ชื่อนวัตกรรม            การพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์และประโยคภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค  TGT: Teams – Games – Tournament ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

ผู้ศึกษา                  นางพัชรา  ชวนโพธิ์

ตำแหน่ง                    ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการ     โรงเรียนซับใหญ่วิทยาคม

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต ๓

ปีการศึกษา ๒๕๖๗       (ระหว่างวันที่ ๑๐ มิถุนายน – ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗)

 

บทคัดย่อ

 

การพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์และประโยคภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค  TGT: Teams – Games – Tournament ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑)  เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์และประโยคภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค TGT: Teams – Games – Tournament ๒)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค TGT: Teams – Games – Tournament เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์และประโยคภาษาอังกฤษ กลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕/๑ จำนวน ๒๐ คน โรงเรียนซับใหญ่วิทยาคม การดำเนินงานออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ โดยมีลำดับขั้นตอน ดังนี้ ๑. การเสนอเนื้อหา ๒. การจัดทีม (Team) ๓. เกม (Game) ๔.การแข่งขัน (Tournaments)

โดยมีเนื้อหาที่ใช้ในการพัฒนา จำนวน ๓ เรื่อง  ได้แก่ ๑)  Direction : Giving Direction ๒)  Going shopping : The shopping list ๓)  At school : My classroom

          ผลการใช้นวัตกรรม พบว่า

๑. ผลต่อผู้เรียน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน นักเรียนมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ยเท่ากับ ๒.๙  จากคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน คะแนนผลสัมฤทธิ์หลังเรียนเท่ากับ ๙.๐๕ จากคะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน

๒. ผลต่อครูและบุคลากรทางการศึกษา ครูผู้สอนได้รับการทดสอบวัดระดับความสามารถภาษาอังกฤษ

ตามกรอบมาตรฐาน CEFR และมีการเข้ารับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรับผิดชอบโครงการการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และได้เผยแพร่ต่อครูและบุคลากรทางศึกษาในองค์กรวิชาชีพเดียวกัน

๓. ผลต่อสถานศึกษา ดำเนินกิจกรรมโครงการภาษาอังกฤษโรงเรียนคุณภาพ ได้แก่ โครงการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Brain Cloud) และโครงการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาของนักเรียนตามกรอบมาตรฐาน CEFR ที่เป็นโครงการที่ทางสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดขึ้น

๔. ผลงานที่เกิดกับชุมชน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการเรียนที่ส่งผลต่อการมีเจตคติที่ดีต่อ

การเรียนวิซาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับมาก ส่งผลให้สามารถพัฒนาทักษะการเขียนคำศัพท์และประโยคภาษาอังกฤษเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมนักเรียนในการทำกิจกรรมภาษาอังกฤษเมื่อไม่ได้อยู่ในห้องเรียนหรือที่บ้าน

ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนา

ควรนำนวัตกรรมไปเผยแพร่ให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพ

รายงานโดย : โรงเรียนซับใหญ่วิทยาคม ::..วันที่ส่ง : 2025-01-05 อ่าน : 1435