นวัตกรรมโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข NBK model "ล้อมรั้วด้วยรัก ฟูมฟักด้วยใจ"
     

ชื่อโครงการ      สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข 

ชื่อนวัตกรรม    NBK  ล้อมรั้วด้วยรัก ฟูมฟักด้วยใจ                           

ผู้รับผิดชอบ      นายสิทธินนท์ สุจำนงค์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
                     นายเมธี พงศ์สุวรรณ  ตำแหน่ง ครู

**************

 

. ความเป็นมาและความสำคัญ

จากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในปัจจุบัน การสื่อสารเทคโนโลยีต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อประชาชน ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ซึ่งปรากฏปัญหาให้เห็นมากมายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด อันนำมาซึ่งปัญหาครอบครัวที่เกิดความทุกข์ ความวิตกกังวล ความเครียด ส่งผลให้เกิดการปรับตัวที่ไม่เหมาะสมหรืออื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ ทดลอง และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ตนเอง อาจพลั้งพลาดและตกเป็นเหยื่อของยาเสพติดและอบายมุขในหลากหลาย ลักษณะ อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของยาเสพติดนั้นยังคงเกิดขึ้นทั่วประเทศ ทั่วทวีป และแพร่กระจายเป็นวงกว้างใน หลากหลายประเทศทั่วโลก  จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวข้างต้น กระทรวงศึกษาธิการได้ กำหนดมาตรการป้องกันเด็ก และเยาวชนก่อนวัยเสี่ยงและในวัยเสี่ยง  ไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เรียนรู้ถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด รู้จัก วิธีปฏิเสธหลีกเลี่ยงยาเสพติดและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงการหมกมุ่นมั่วสุมกับยาเสพติดและอบายมุข ตลอดจนดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาที่ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด  จึงได้กำหนดนโยบายให้ผู้บริหารองค์กรหลัก หน่วยงานและสถานศึกษาดำเนินการโครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ในการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายหรือความสำเร็จนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยเฉพาะ บุคลากรทางการศึกษาทุกคนในสถานศึกษา ซึ่งมีครู อาจารย์ เป็นหลักสำคัญในการดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ นักเรียน นักศึกษา ให้เติบโตงดงามและเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของสังคม การพัฒนานักเรียน นักศึกษา ให้เป็นบุคคลที่มี คุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรมจริยธรรม ดำเนินวิถีชีวิตที่เป็นสุข ตามที่สังคมมุ่งหวัง โดยผ่านกระบวนการทางการศึกษาที่สถานศึกษาทุกแห่ง

ต้องดำเนินการจัดการศึกษาตามนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการที่ต้องการให้เยาวชนเป็นคนเก่ง คนดี สามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียน นักศึกษา ได้รับกระบวนการเรียนรู้แล้ว การป้องกันและการ ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยง รอบสถานศึกษาที่มีพฤติกรรมไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ร้านเกม การพนัน หนีเรียน ทะเลาะวิวาท        ก่ออาชญากรรม เป็นปัญหาสังคมที่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ทุกคนที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้าไป ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาไม่ให้มีพฤติกรรมเสี่ยง ซึ่งมาจากปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบจากแหล่งอบายมุข   จังหวัดชัยภูมิเป็นพื้นที่หนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ที่ประสบปัญหาการแพร่กระจายของยาเสพติด ประเภทต่างๆ อย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลสถิติและสารสนเทศเพื่อการบริหารระดับพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖7 พบว่า  สถิติการจับกุมผู้กระทำ ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดส่วนใหญ่ เป็นการจับกุมผู้กระทำความผิดในข้อหาคดีพืชกระท่อม รองลงมาเป็นกัญชาสดและ กัญชาแห้ง มีจำนวนการจับกุมและจำนวนผู้ต้องหาในคดีเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ

 

เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดและอบายมุข รวมทั้งการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) ได้อย่างทั่วถึงนั้น จึงได้จัดระบบโครงสร้างการป้องกันและแก้ปัญหาใน
สถานศึกษา  โดยใช้รูปแบบ NBK Model ล้อมรั้วด้วยรัก ฟูมฟักด้วยใจ”

ภายใต้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยการขับเคลื่อนด้วยวงจรคุณภาพ PDCA ภายใต้กลยุทธ์การขับเคลื่อนสถานศึกษาสีขาว 4 ต้อง 2 ไม่

 ดังนั้นในกระบวนการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) จึงยึดหลักความเข้าใจ ความเข้าถึง การดูแลช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และ    มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทุกด้าน  พร้อมทั้งสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่นักเรียนเพื่อใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ ส่งผลให้การแพร่การระบาดของยาเสพติดและอบายมุขหยุดชะงักลงในที่สุด 

 

2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายการดำเนินงาน

๒.1 วัตถุประสงค์ นวัตกรรม NBK Model ล้อมรั้วด้วยความรัก ฟูมฟักด้วยใจ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 

      ๒.๑  เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติดและอบายมุขภายในสถานศึกษา

      ๒.๒  เพื่อให้นักเรียนและครอบครัวมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

      ๒.๓  เพื่อลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดและอบายมุขภายในชุมชน 

      ๒.๔ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกระบวนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและอบายมุขภายในสถานศึกษาและภายในชุมชน ให้มีกระบวนการที่เข้มแข็งต่อเนื่องและยั่งยืน

      2.5 เพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ในการนำไปพัฒนาและสร้างระบบป้องกันและแก้ไข ปัญหายาเสพติด อบายมุข รวมทั้งปัจจัยเสี่ยงรอบสถานศึกษาในทุกพื้นที่

 

 

            เป้าหมาย

                เชิงปริมาณ

                    ๑. เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก(ทองวิทยานุกูล) มีทักษะเกี่ยวกับความอันตรายชองยาเสพติด บุหรี่/บหรี่ไฟฟ้าและอบายมุข คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

      ๒. นักเรียนโรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก(ทองวิทยานุกูล)ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการสร้างสรรค์ผลงานด้วยทักษะด้านอาชีพ ตามความถนัด ความสนใจของแต่ละบุคคล เพื่อห่างไกลจากยาเสพติด คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐

                    เชิงคุณภาพ

                    ๑. นักเรียนโรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก(ทองวิทยานุกูล) มีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมล้อมรั้วด้วยความรัก ฟูมฟักด้วยใจ หรือสร้างสรรค์ผลงานด้วยทักษะด้านอาชีพเพื่อการสร้างอาชีพ

                    ๒. นักเรียนโรงเรียนปู่ด้วงศึกษาลัย เกี่ยวกับความอันตรายชองยาเสพติด บุหรี่/บหรี่ไฟฟ้าและอบายมุข

 

การดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก(ทองวิทยานุกูล) โดยใช้รูปแบบวิธีการ NBK Model ล้อมรั้วด้วยความรัก ฟูมฟักด้วยใจ” ประกอบด้วยคำสำคัญ  ดังนี้

                N : No Drugs หมายถึง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดสารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ เมื่อเสพเขาสู         รางกายไมวาจะโดย รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือดวยประการใด ๆ แลวทําใหเกิดผลตอรางกายและจิตใจในลักษณะสําคัญทําใหสุขภาพทั่วไปทรุดโทรมรวมตลอดถึงพืชหรือสวนของพืชที่เปนผลผลิตเปนยาเสพติดใหโทษ หรืออาจใชผลิตเปนยาเสพติดใหโทษ และสารเคมีที่ใชในการผลิตยาเสพติดใหโทษดวย

                B : Behavior หมายถึง พฤติกรรม การกระทำหรือการแสดงออกซึ่งค่านิยมอันพึงประสงค์ โดยการส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมการเข้าค่าย คุณธรรม กิจกรรมค่ายทักษะชีวิต กิจกรรมชุมนุมตามความสนใจ และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ รวมทั้ง การแสดงออกในการรณรงค์ป้องกันยาเสพติดในโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งมีการบูรณาการการเรียนการสอนในชั้น เรียน และส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันยาเสพติด
                K :  knowledge หมายถึง การจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ด้านความรู้ทางวิชาการ ให้นักเรียน ทุกคนในโรงเรียน ได้มีส่วนในการรับรู้ ได้แก่กิจกรรมห้องเรียนสีขาวโดยคณะกรรมการฝ่ายการเรียนร่วมกับคณะกรรมการฝ่ากิจกรรม ร่วมกันจัดบอร์ดหรือป้ายนิเทศในห้องตัวเอง ในกิจกรรมหรือวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันสุนทรภู่ วันงดสูบบุหรี่โลก สัปดาห์วิทยาศาสตร์ วันเข้าพรรษา วันต่อต้านยาเสพติด เป็นต้น ตัวอย่างความรู้ที่กำหนดให้ เช่น โทษและภัยของยาเสพติดและอบายมุข หรือกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ได้แก่ พี่สอนน้อง เพื่อน ช่วยเพื่อน เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลานอกเหนือจากการเรียนการสอนปกติ     มาทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ใช้ เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

                ล้อมรั้วด้วยรัก หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และ           ภาคี เครือข่ายโรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) ที่มีลักษณะการบริหารจัดการหรือการดูแลสมาชิกเปรียบเสมือนครอบครัวหรือ เพื่อลดช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำระหว่างนักเรียนแต่ละคนและ ให้ครูที่ปรึกษาสามารถดูแลนักเรียนแต่ละคนได้อย่างทั่วถึง  มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยโครงงาน คุณธรรม 

                ฟูมฟักด้วยใจ หมายถึง  การสร้างกิจกรรมในการพัฒนาทักษะความสามารถของนักเรียนในแต่ละบุคคลผ่านกิจกรรมโครงงานทักษะอาชีพและกิจกรรมชุมชนด้านกีฬา ดนตรี นาฎศิลป์

๒.2 เป้าหมายการดำเนินงาน

      2.2.1 นักเรียนร้อยละ 100 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยและโทษของสิ่งเสพติด

      2.2.2 นักเรียนร้อยละ 100 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดทุกชนิด

      2.2.3 นักเรียนร้อยละ 90 สามารถถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับภัยและโทษของสิ่งเสพติดแก่ผู้สนใจ

               ได้

      2.2.4 นักเรียนร้อยละ 80 มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมวัย

      2.2.5 นักเรียนร้อยละ 50 ได้รับการยกย่องชมเชยจากคณะครู หน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงาน 

               ภายนอก

      2.2.6 คณะครูร้อยละ 100 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งเสพติดผิดกฎหมาย

      2.2.7 คณะครูร้อยละ 50 ได้รับการยกย่องชมเชยจากหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงาน

               ภายนอก

      2.2.7 โรงเรียนได้รับการยกย่องชมเชยจากหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานภายนอก

 

๓. ขั้นตอนการดำเนินงาน  

 ๓.๑ การออกแบบผลงาน/นวัตกรรม

      จากสภาพสังคมในปัจจุบัน ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นช่วงวัยแห่งการเรียนรู้ ทดลองและสร้างประสบการณ์ใหม่ให้แก่ตนเอง วัยรุ่นบาง กลุ่มสร้างค่านิยมหรือมีความเชื่อที่ผิด ๆ เกี่ยวกับการเสพยาเสพติดและอบายมุข อาจพลั้งพลาดและตกเป็นเหยื่อของยาเสพติดและอบายมุขในหลากหลายลักษณะดังกล่าวมาแล้วข้างต้น           จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว โรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก(ทองวิทยานุกูล)  จึงร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของโครงการ สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ด้วยกระบวนการขับเคลื่อนการบริหารงานในรูปแบบ “NBK ล้อมรั้วด้วยรัก ฟูมฟักด้วยใจ” ตามบริบททั่วไปของโรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) เป็นโรงเรียนขยายโอกาส มีนักเรียนที่หลากหลายในช่วงอายุ ประกอบกับสภาพของชุมชนเป็นชุมชนกึ่งเมือง ผู้ปกครองประกอบอาชีพรับจ้างและส่วนใหญ่ผู้ปกครองต้องไปทำงานต่างพื้นที่ทำให้นักเรียนต้องอาศัยอยู่กับ ตา ยาย ปู่ ย่า และญาติทำให้ความอบอุ่นภายในครอบครัวไม่ค่อยสมบูรณ์ และเมื่อพิจารณาด้านการบริหารจัดการงบประมาณ  ยังขาดแคลนงบประมาณสำหรับบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนที่ต้องใช้ค่าสาธารณูปโภคเพิ่มขึ้น  ด้านบุคลากร  พบว่า ผู้บริหารและครูโรงเรียนสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง รู้จักครอบครัวนักเรียน  จึงเปรียบเสมือนการปกครองดูแลแบบครอบครัวโดยใช้กิจกรรมโครงงานภายใต้กรอบโครงการห้องเรียนปลอดบุหรี่ แอลกอฮอล์ และอบายมุข  โดยในโครงงานแต่ละระดับชั้น ครูผู้สอนต้องให้นักเรียนมีความรู้เรื่องพิษภัยของยาเสพติด โทษของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข  และวิธี ที่จะหลีกหนีให้พ้นจากยาเสพติด และอบายมุข เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้รับไปเป็นแนวทางในการป้องกัน ตัวเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดและอบายมุข เพื่อเป็นการลดปัญหา พฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและอบายมุข โดยครูที่ปรึกษา มีหน้าที่ ดูแลและให้ความช่วยเหลือนักเรียน ในด้านต่างๆ ด้วยความรัก  ความเข้าใจ  ให้การดูแลอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และเสมอภาค เปิดใจรับฟังความคิดเห็นหรือปัญหาของลูก ด้วยความเต็มใจ กล่าวคือ ดูแลนักเรียนด้วยวิธีการแห่งศาสตร์พระราชา (เข้าใจ  เข้าถึง  พัฒนา)  และได้รับการฟูมฟักด้วยรัก ด้วยการดูแลและบริหารจัดการ ทำหน้าที่ ให้คำปรึกษา ในการช่วยเหลือและติดตามแก้ไขปัญหาพฤติกรรมที่ไม่พึง ประสงค์ในทุกด้าน เช่น การสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด การตั้งครรภ์ไม่พร้อม ปัญหาส่วนตัว และ ครอบครัว เป็นต้น มีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาหรือความต้องการ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ ของ นักเรียน ส่งต่อมาตามลำดับขั้น  กล่าวคือ จากนักเรียน ไปสู่ครูที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่เสมารักษ์  จากนั้นข้อมูลดังกล่าว จะถูกส่งต่อไปยังหัวหน้างานกิจการนักเรียน และมีการรายงานให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้ทราบเป็นระยะ

นอกจากนี้ทางโรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) ได้จัดทำ MOU เครือข่ายสถานศึกษา     สีขาว ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน โดยมี ภาคีเครือข่าย  ซึ่งเป็นองค์กรหรือหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา  ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา สถานีตำรวจภูธรตำบลหนองบัวโคก สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯหนองบัวโคก เทศบาลตำบลหนองบัวโคก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวโคก กำนันผู้ใหญ่บ้าน และเครือข่ายภาย ได้แก่ สถานศึกษาในตำบลหนองบัวโคก โรงเรียนบ้านหนองลุมพุก โรงเรียนบ้านหนองโสน โรงเรียนบ้านสำโรงโคก โรงเรียนทามจาน โรงเรียนโสกรวกหนองซึก และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บุคคลหรือองค์กรที่ร่วมดำเนินงานในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีภารกิจและเป้าหมายร่วมกัน  คือ การดูแล ช่วยเหลือปกป้อง คุ้มครองนักเรียนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันการแพร่ระบาดของยาเสพติด บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา น้ำกระท่อม และ อบายมุขสู่สถานศึกษาทุกรูปแบบ ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานทุกขั้นตอน (ตามระบบการดูแล ช่วยเหลือนักเรียนที่เข้มแข็ง) เพื่อประโยชน์ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน หรือส่งต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วงจร PDCA หรือ Deming Cycle เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน ๔ ขั้น คือ Plan (วางแผน)  DO (ปฏิบัติ) Check (ตรวจสอบ) และ Action         (การปรับปรุง)

การดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติด และอบายมุข ของโรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) โดยใช้รูปแบบวิธีการ ปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ได้ดำเนินการตามกระบวนการบริหารจัดการที่ปรับประยุกต์ขึ้น โดยใช้วงจร PDCA หรือ Deming Cycle เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอน ๔ ขั้น คือ Plan (วางแผน)            DO (ปฏิบัติ) Check (ตรวจสอบ) และ Action (การปรับปรุง) โดยมีขั้นตอนดังนี้  

                ขั้นตอนที่ ๑ P : Plan (วางแผน)   เป็นส่วนประกอบของวงจรที่มีความสำคัญ การวางแผนเป็นจุดเริ่มต้นของงาน และเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำงานในส่วนอื่นเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล มีการดำเนินการดังนี้

๑)  ผู้บริหาร สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อ รับทราบนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ สถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข 

๒) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน  ปัญหา  และสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดเพื่อสร้างความตระหนักร่วมกัน  รวมทั้งผลการดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาวในปีการศึกษา ๒๕๖6 ที่ผ่านมา มาร่วมกันออกแบบนวัตกรรม NBK ล้อมรั้วด้วยรัก ฟูมฟักด้วยใจ

๓) ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เตรียมพร้อมสู่การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ  โดยแต่งตั้งผู้รับผิดชอบและคณะทำงาน     โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุขจัดทำแผนปฏิบัติงาน 

๔) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่าง ผู้บริหารโรงเรียน กับ ครูที่ปรึกษา และนักเรียนแกนนำ  

๕) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  ระหว่าง ผู้บริหารโรงเรียนกับผู้บริหารโรงเรียนเครือข่าย  เพื่อขยายขอบเขตชุมชนเข้มแข็งปลอดยาเสพติดและอบายมุขให้มีพื้นที่มากขึ้น

๖) จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)  ระหว่างโรงเรียนและเครือข่ายภาพนอก เพื่อให้เกิดกันป้องกัน และส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหา

๗) กำหนดการดูแลนักเรียนทุกห้องเรียน นักเรียนต้องมีบทบาทหน้าที่เฉพาะ  โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการห้องเรียน ๔ ฝ่าย เพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์สถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข

๘) สร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักให้แก่นักเรียนและจัดองค์กรภายในบ้าน (ห้องเรียน) ประกอบด้วยแกน นำนักเรียน ๔ ฝ่าย คือ ฝ่ายการเรียน ฝ่ายการงาน  ฝ่ายสารวัตรนักเรียน และฝ่ายกิจกรรม

                ขั้นตอนที่ ๒ D : Do (ปฏิบัติ)  โรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก(ทองวิทยานุกูล)   ได้ดำเนินโครงการสถานสีขาวปลอดยาเสพติดและ อบายมุข ตามยุทธศาสตร์  ๕ มาตรการ ๑๗  ตัวบ่งชี้  ประกอบด้วย             

๑) มาตรการด้านการป้องกัน ๔ ตัวบ่งชี้  สถานศึกษาจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามกลุ่มสนใจ เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและปลุกจิตสำนึกไม่ให้นักเรียน ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด

๒) มาตรการด้านค้นหา ๔ ตัวบ่งชี้ สถานศึกษาจัดระบบการคัดกรอง จำแนกกลุ่มนักเรียน ออกเป็น ๕ กลุ่ม คือ กลุ่มปลอด กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเสพ กลุ่มติด และกลุ่มค้า

 ๓) มาตรการด้านรักษา ๒ ตัวบ่งชี้ สถานศึกษาจัดระบบการส่งต่อกลุ่มเสพ กลุ่มติดเข้าสู่การบำบัดรักษาตามระบบสมัครใจ การนำเข้าสู่กระบวนการจิตสังคมบำบัดในสถานศึกษาและค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

๔) มาตรการด้านเฝ้าระวัง ๒ ตัวบ่งชี้ สถานศึกษาดำเนินการจัดให้มี นักเรียน นักศึกษาแกนนำ ระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน  เพื่อเฝ้าระวังไม่มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด จัดระเบียบพื้นที่เสี่ยงและ มีการขจัดปัจจัยเสี่ยง พื้นที่อับโดยจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่ไม่ให้เอื้อต่อการไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด       

๕) มาตรฐานด้านการบริหารจัดการ ๕ ตัวบ่งชี้  มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การ ดำเนินงาน มีแผนปฏิบัติการ และการอำนวยการ กำกับ ติดตาม ประเมินผล สรุปรายงานแจ้งต้นสังกัด และการ ประสานงานกับทุกภาคส่วน

                ขั้นตอนที่ ๓ C : Check (ตรวจสอบ) หมายถึง การตรวจสอบดูว่าเมื่อปฏิบัติงานตามแผน หรือการ แก้ปัญหางานตามแผนแล้ว ผลลัพธ์เป็นอย่างไร สภาพปัญหาได้รับการแก้ไขตรงตามเป้าหมายที่กลุ่มตั้งใจหรือไม่ ผ่านการตรวจสอบการดำเนินงานตามกลยุทธ์ ๔ ด้านของสถานศึกษาสีขาว ประกอบด้วย    

          ๑)  การจัดการให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาการ  เช่น จัดบอร์ด จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ หนังสือ วารสารจดหมายข่าว ที่มี ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติด ปัญหาโรคเอดส์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร อุบัติภัย และอบายมุข  นำสถานการณ์ข่าวสารทุกด้านมาเสนอให้เพื่อนนักเรียนรับฟัง    

          ๒) การดูแลช่วยเหลือ   จัดให้มีนักเรียนแกนนำดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตอบสนองปัญหาของพฤติกรรม ของนักเรียน ช่วยเหลือด้านการเรียนและให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ หากไม่สามารถแก้ได้ให้รายงาน ครูที่ปรึกษา    

          ๓) เอื้อเฟื้อด้านคุณธรรม  นักเรียนทุกคนต้องมีหลักธรรมคำสอน ตามศาสนาที่ตนเองนับถือ มาเป็นหลักยึด ปฏิบัติในห้องเรียน จะทำให้ทุกคนรักกัน ช่วยเหลือกัน ทั้งนี้หมู่บ้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งครูที่ปรึกษา มุ่งเน้นการสอดแทรกแนวคิด แนวปฏิบัติของศาสตร์พระราชาให้แก่นักเรียน   

          ๔)  จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ มีกิจกรรมหลัก คือ  โครงงานระดับห้องเรียน และจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ช่วยให้ นักเรียนเกิดความรัก ความสามัคคี และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ไม่มั่วสุมกับยาเสพติดหรือสื่อลามก อนาจาร เช่น การเล่นกีฬา การเล่นดนตรี ศิลปะ และกิจกรรมตามกลุ่มสนใจ ซึ่งร่วมกันจัดทำโดยมี จุดประสงค์เพื่อพัฒนาร่างกายและจิตใจ ทั้งกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เช่น กิจกรรมครู แดร์ (D.A.R.E)  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด กิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต  กิจกรรมทักษะอาชีพ  กิจกรรม ด้านกีฬา กิจกรรมโครงงานคุณธรรม กิจกรรมโครงการยาเสพติด และอบายมุข  กิจกรรมเสียงตามสายคลาย ทุกข์  กิจกรรมตามโครงการกินผักและผลไม้ จัดแหล่งเรียนรู้การค้นคว้า จัดสภาพแวดล้อมที่ปราศจากพื้นที่เสี่ยง  เป็นต้น

      ขั้นตอนที่ ๔ A: Action (การปรับปรุงการดำเนินการให้เหมาะสม) เป็นการกระทำภายหลังที่กระบวนการ 4 ขั้นตอน ตามวงจรได้ดำเนินการเสร็จแล้ว  ทั้งนี้มีการดำเนินการดังนี้        

๑)  สรุปและรายงานผลการดำเนินงานสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ต่อสาธารณชนและผู้เกี่ยวข้องทราบ        

๒) ปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาการเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง      

๓) ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ      

๔) เผยแพร่สู่สาธารณะ

N : No Drugs หมายถึง ไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดสารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ เมื่อเสพเขาสู         รางกายไมวาจะโดย รับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือดวยประการใด ๆ แลวทําใหเกิดผลตอรางกายและจิตใจในลักษณะสําคัญทําใหสุขภาพทั่วไปทรุดโทรมรวมตลอดถึงพืชหรือสวนของพืชที่เปนผลผลิตเปนยาเสพติดใหโทษ หรืออาจใชผลิตเปนยาเสพติดใหโทษ และสารเคมีที่ใชในการผลิตยาเสพติดใหโทษดวย

                B : Behavior หมายถึง พฤติกรรม การกระทำหรือการแสดงออกซึ่งค่านิยมอันพึงประสงค์ โดยการส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะชีวิตในด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมการเข้าค่าย คุณธรรม กิจกรรมค่ายทักษะชีวิต กิจกรรมชุมนุมตามความสนใจ และกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ รวมทั้ง การแสดงออกในการรณรงค์ป้องกันยาเสพติดในโอกาสต่าง ๆ รวมทั้งมีการบูรณาการการเรียนการสอนในชั้น เรียน และส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันยาเสพติด
                K :  knowledge หมายถึง การจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ด้านความรู้ทางวิชาการ ให้นักเรียน ทุกคนในโรงเรียน ได้มีส่วนในการรับรู้ ได้แก่กิจกรรมห้องเรียนสีขาวโดยคณะกรรมการฝ่ายการเรียนร่วมกับคณะกรรมการฝ่ากิจกรรม ร่วมกันจัดบอร์ดหรือป้ายนิเทศในห้องตัวเอง ในกิจกรรมหรือวันสำคัญต่าง ๆ เช่น วันสุนทรภู่ วันงดสูบบุหรี่โลก สัปดาห์วิทยาศาสตร์ วันเข้าพรรษา วันต่อต้านยาเสพติด เป็นต้น ตัวอย่างความรู้ที่กำหนดให้ เช่น โทษและภัยของยาเสพติดและอบายมุข หรือกิจกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ได้แก่ พี่สอนน้อง เพื่อน ช่วยเพื่อน เป็นต้น เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เวลานอกเหนือจากการเรียนการสอนปกติ     มาทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ใช้ เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

 

 

                ล้อมรั้วด้วยรัก หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน และ           ภาคี เครือข่ายโรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก (ทองวิทยานุกูล) ที่มีลักษณะการบริหารจัดการหรือการดูแลสมาชิกเปรียบเสมือนครอบครัวหรือ เพื่อลดช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำระหว่างนักเรียนแต่ละคนและ ให้ครูที่ปรึกษาสามารถดูแลนักเรียนแต่ละคนได้อย่างทั่วถึง  มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วยโครงงาน คุณธรรม 

                ฟูมฟักด้วยใจ หมายถึง  การสร้างกิจกรรมในการพัฒนาทักษะความสามารถของนักเรียนในแต่ละบุคคลผ่านกิจกรรมโครงงานทักษะอาชีพและกิจกรรมชุมชนด้านกีฬา ดนตรี นาฎศิลป์

รายงานโดย : โรงเรียนชุมชนหนองบัวโคก(ทองวิทยานุกูล) ::..วันที่ส่ง : 2025-02-05 อ่าน : 1